ชาวต่างชาติที่ทำงานทั้งประเทศไทย และต่างประเทศ จะมีสามารถนำใบหัก ณ ที่จ่ายไปใช้ได้หรือไม่
การทำงานเป็นพนักงานประจำให้แก่บริษัทไทยในประเทศไทยจะส่งผลให้ท่านมีภาระภาษีเสมือนคนไทยแม้จะทำงานแค่วันเดียวก็ตาม แต่ระยะเวลาดังกล่าวก็ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องคำนึงเพื่อพิจารณาว่าท่านเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ เพื่อทำการขอเครดิตภาษีกรณีที่ท่านยังคงมีหน้าที่ในการเสียภาษีในต่างประเทศจากเงินได้ที่ท่านต้องเสียภาษีในประเทศไทยนี้ แต่จะต้องไปดูต่อในเรื่องของอนุสัญญาภาษีซ้อนว่าได้รับยกเว้นหรือไม่ เช่นกรณีตามถิ่นที่อยู่ ตัวอย่างดังนี้
(1) กรณีท่านอยู่ในประเทศไทยมากกว่าหรือเท่ากับ 180 วัน ถือว่ามีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ดังนั้น จึงต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ประเทศอเมริกา พร้อมทั้งขอหนังสือรับรองเพื่อการรัษฎากรจากกรมสรรพากรอเมริกา จากนั้นให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย โดยนำเงินได้ที่ได้รับทั้งในและต่างประเทศทั้งหมดมารวมคำนวณโดยสามารถนำจำนวนที่ได้รับและเสียภาษีในประเทศอเมริกาแล้วมาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระในประเทศไทย ทั้งนี้ไม่เกินกว่าภาษีที่ต้องเสียในประเทศไทย ตามมาตรา 41 วรรคสามแห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ ข้อ 4 ข้อ 16 และข้อ 25 ของอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ3
(2) กรณีท่านอยู่ในประเทศไทยน้อยกว่า 180 วัน ถือว่ามีถิ่นที่อยู่ในประเทศอเมริกา ดังนั้น จึงต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ประเทศไทย พร้อมทั้งขอหนังสือรับรองเพื่อการรัษฎากรจากกรมสรรพากรไทย จากนั้นให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศอเมริกา โดยนำเงินได้ที่ได้รับทั้งในและต่างประเทศทั้งหมดมารวมคำนวณโดยสามารถนำจำนวนที่ได้รับและเสียภาษีในประเทศไทยแล้วมาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระในประเทศอเมริกา ทั้งนี้ไม่เกินกว่าภาษีที่ต้องเสียในประเทศอเมริกา ตามมาตรา 41 วรรคสามแห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ ข้อ 4 ข้อ 16 และข้อ 25 ของอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ
อย่างไรก็ตาม กฎหมายภาษีบางครั้งอาจมีการยกเว้นภาษีแก่ชาวต่างชาติในบางกรณี เช่น กรณีที่ท่านเป็นครูชาวต่างชาติซึ่งเข้ามาสอนในประเทศไทยโดยมีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปีจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย